เมลาโทนิน” ในผักและผลไม้”

“เมลาโทนิน” (Melatonin) คือฮอร์โมนตามธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการนอนหลับและระบบการทำงานทางชีวภาพของร่างกาย (Circadian Rhythm) ให้เป็นไปตามปกติ พบได้ทั่วไปในร่างกายมนุษย์และในพืช เมลาโทนินในผักและผลไม้จัดเป็นเมลาโทนินธรรมชาติ โดยสมุนไพรที่มีเมลาโทนินสูงสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่มีเมลาโทนินสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเมลานินสังเคราะห์ในรูปแบบของยาหรืออาหารเสริม เมลาโทนินในพืชที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไป
1. เมลาโทนินในพืชช่วยในการนอนหลับได้อย่างไร?
2. ผลข้างเคียงของการทานเมลาโทนินมีอะไรบ้าง?
1.เมลาโทนินในพืชช่วยในการนอนหลับได้อย่างไร?
เมลาโทนิน (Melatonin) คือ สารสื่อประสาทที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้เองเพื่อทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเเละควบคุมการนอนหลับ ปัจจุบันได้มีการนำสารดังกล่าวมาสกัดเเละสังเคราะห์ในรูปแบบของยาและอาหารเสริมเพื่อใช้ในการรักษาผู้ที่นอนไม่หลับ ผู้ที่อาการนอนหลับผิดปกติ หรือผู้ที่ประสบปัญหาปรับเวลาการใช้ชีวิตและการนอนไม่ได้ จากกรณีการเดินทางไปยังต่างประเทศ (Jet Lag)
อย่างไรก็ตามสามารถพบสารเมลาโทนินได้ในพืชผักและผลไม้ทั่วไป โดยจากการศึกษาความเกี่ยวข้องของสารเมลาโทนินในอาหารพบว่า เมื่อหนูทดลองได้รับวอลนัต (Walnuts) ซึ่งจัดเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มที่มีสารเมลาโมทินสูง พบว่าสารเมลาโทนินและสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองเพิ่มสูงขึ้น
สอดคล้องกับงานศึกษาวิจัยสารเมลาโทนินในน้ำองุ่น (Juice of Grape) ที่ได้ทดสอบในกลุ่มผู้เข้ารับการทดสอบหลากหลายช่วงอายุ ทั้งในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่ และกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและสารเมลาโทนินเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เมื่อได้รับน้ำองุ่นปริมาณ 200 ml.วันละ 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 วัน
นอกจากนั้นเเล้วการศึกษาผลของการรับประมาณผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สับปะรด ส้ม และกล้วยต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเมลาโทนินและฤทธิ์ของการต้านอนุมูลอิสระในอาสาสมัครสุขภาพดีที่พบว่าการรับประทานผลไม้ทั้ง 3 ชนิดข้างต้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นของเมลาโทนินของอาสาสมัครสุขภาพดีได้ใกล้เคียงกับความเข้มข้นสูงสุดของเมลาโทนินตามปกติของร่างกายในเวลากลางคืน (Peak Nighttime Physiologic Melatonin Concentration)
2. ผลข้างเคียงจากการทานเมลาโทนินมีอะไร
บ้าง?
ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับเมลาโทนินสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายอาการ เช่น เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่กระฉับกระเฉง ความดันต่ำ อาการง่วงนอนในช่วงกลางวัน ปฏิกริยาตอบสนองที่ไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ร่วมกับยาบางประเภท รวมไปถึงอาจลดการสร้างสารเมลาโทนินตามธรรมชาติในร่างกาย ในกรณีที่ได้รับสารเมลาโทนินสังเคราะห์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
อย่างไรก็ตาม การรับประทานเมลาโทนินประเภทอาหารเสริมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ยังคงมีความปลอดภัยสูง แม้ว่าจะบริโภคในปริมาณที่สูงกว่าที่กำหนดก็ตาม รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยเเน่ชัดถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรับประทานเมลาโทนินสังเคราะห์ ทั้งนี้ การบริโภคเมลาโทนินด้วยตนเองโดยไม่ได้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ อาจเป็นสาเหตุของการได้รับสารเมลาโทนินมากเกินไป และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้
Scroll to Top