เมลาโทนิน

เมลาโทนิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า N-acety-5-methoxytryptamine เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น จาก

ต่อมไพเนียล (pineal gland) ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม (3″‘ ventricle) ระหว่างสมองส่วนซีรีบรัม (cerebrum)

ซีกซ้ายและซีกขวาเมลาโทนิน มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการปรับสรีรชีวภาพในระดับโมเลกุลของเซลล์ร่างกายมนุษย์และสัตว์ ส่ง ผลต่อการดำรงชีพซึ่งเดิมเข้าใจเพียงว่าเมลาโทนินมีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) เท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว

เมลาโทนินยังควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายได้แก่ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบ

สืบพันธุ์ ระบบต้านอนุมูลอิสระ อายุขัย และวงจรชีวิตของเซลล์ จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้มีการนำเมลาโทนินมาใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจและ หลอดเลือดและโรคมะเร็ง เป็นต้น’

ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดและส่งผลต่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย จะมีกลไกในการออกฤทธิ์ 4 ลักษณะ คือ

  1. จับกับ melatonin receptor ที่เยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งจำแนก

ชนิดตัวรับเมลาโทนินออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ MT, MT , และMTหัวใจ หลอดเลือดตอมลูกหมากศอมน้ำนมี วังน้ำดี มีวหนั้ง- MT พบที่สมองและส่วนน้อยที่อวัยวะอื่นๆ เช่นและเซลล์เม็ดเลือดขาว มีผลยับยั้งอัตราการเกิดกระแสประสาทที่ suprachiasmatic nucleus และการสร้างฮอร์โมนprolactin จาก pars tuberalis ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดMT, พบที่ cerebellum หัวใจ หลอดเลือด จอตายับยั้งการปล่อย dopamine ที่จอตา, ชักนำการเพิ่มของเซลล์ม้าม, ยับยั้งการ leukocyte rolling ในหลอดเลือดแดงและเพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน, ทำให้เกิดvasodilationMT พบที่ สมองไต ปอด มีผลกระตุ้นการทำงาน

ของ phosphoinositol เพิ่มแคลเซียมในกระแส เลือด และป้องกันกระบวนการเกิดพิษ

  1. จับกับ nuclear receptor โดยเมลาโทนินสามารถซึมผ่านผนังเยื่อหุ้มเซลล์ เข้าไปจับกับนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยretinoid-Z-receptor (RZR) และ retinoid orphan receptor(ROR) เชื่อว่ามีบทบาท เกี่ยวกับการปรับจังหวะในรอบวันและระบบภูมิคุ้มกัน
  2. จับกับโปรตีนภายในเซลล์ โดยเมลาโทนินสามารถซึมผ่านผนังเยื่อหุ้มเซลล์ ไปจับกับโปรตีนภายใน เซลล์ เช่น calmodulin ส่งผลยับยั้งเอนไซม์ calmodulin kinase II ทำให้จับกับกับแคลเซียมได้น้อยลง ซึ่งอาจ เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งเต้านม
  3. จับกับอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ที่ระดับ mitochondiaโดยเมลาโทนินสามารถซึมผ่านผนังเยื่อหุ้ม เซลล์ เข้าไปรวม

กับอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น hydroxyl, hydrogen peroxide,superoxide, nitric oxide, hypochlorous acid (HOCI)เป็นต้น จึงทำให้เมลาโทนินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพตัวหนึ่ง

Scroll to Top