ก่อนใช้เมลาโทนินช่วยการนอนหลับ 5 เรื่องต้องรู้

อาการนอนไม่หลับ หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต บางคนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่สามารถช่วยให้นอนหลับได้จึงเลือกที่จะใช้ตัวช่วยโดยการรับประทานยาหรือฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานอนไม่หลับ ฮอร์โมนนั้นคือเมลาโทนิน

เมลาโทนินช่วยการนอนหลับ 5 เรื่องต้องรู้

1.เมลาโทนินบรรเทาปัญหาการนอนหลับได้หลายกลุ่มอาการ เช่น กลุ่มอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ บรรเทาอาการเจ็ทแลค (jet lag) ที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนของเขตเวลา มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ช่วยในเรื่องการนอนหลับของคนที่ทำงานเป็นกะ (shift work) รวมไปถึงการรักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวิตทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้

2.เมลาโทนินสังเคราะห์ พบได้ 2 รูปแบบ คือ เมลาโทนินชนิดที่จดทะเบียนเป็นยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ในปริมาณที่กำหนด กับเมลาโทนินในรูปแบบของอาหารเสริม ซึ่งไม่ควรใช้เกิน 5 มิลลิกรัม/ครั้ง

3.เมลาโทนินช่วยปรับเลื่อนเวลาเข้านอน ควรรับประทาน ก่อนเวลาที่ต้องการเข้านอน 2 – 3 ชั่วโมง และไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรหลังทานเมลาโทนิน

4.ผู้มีปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัวโดยเฉพาะในกลุ่มโรคลมชัก ความดัน ภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้เมลาโทนิน

5.อาการข้างเคียงจากการใช้เมลาโทนินอาจพบอาการปวดศีรษะ มวนท้องวิตกกังวล หงุดหงิด อ่อนเพลีย หรือ อาจทำให้เกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงในระยะสั้นได้

รับประทานได้แต่ต้องระวัง !นื่องจากเมลาโทนินเป็นฮอร์โมน ดังนั้นจะต้องใช้ในขนาดที่ถูกต้อง ถูกเวลา และถูกระยะเวลา อีกทั้งการรับประทานอาหารเสริมเมลาโทนินอาจจะมีผลข้างเคียง เช่น ไปลดการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินตามธรรมชาติ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาหารเสริมเมลาโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ยาคุมกำเนิด ยาลดภูมิคุ้มกัน  (immunosuppressants) เป็นต้น

Scroll to Top