เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผล

เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผลเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ มีแพทย์แนะนำให้ใช้ ช่วยในการแก้ปัญหาการนอนหลับโดยไม่มีอันตรายมากเท่าสารอื่นๆ แต่ อ.ย.จัดเป็นยาควบคุม ไม่สามารถขายออนไลน์ได้ เป็นสินค้าควบคุมที่ไม่สามารถขายผ่านทางออนไลน์ได้ ทำให้มีการยกเลิกการขายสินค้าในหลายช่องทางในช่วงปลายสิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา

เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนของร่างกายที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล โดยมีหน้าที่สำคัญในร่างกายของเรา ช่วยปรับเวลาในการนอนของเราให้ตรงตามเวลาที่ควรจะเป็น

ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดิน และร่างกายจะมีระดับของเมลาโทนินสูงสุดในช่วงหนึ่งตอนกลางคืน ทำให้เรานอนหลับได้ตามเวลานอนประจำ

ความมืดจะกระตุ้นการหลั่งสารเมลาโทนิน แสงสว่างจะยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน

การได้รับแสงสีฟ้า เช่น แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ จะสามารถยับยั้งหรือชะลอการหลั่งเมลาโทนินได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนที่เล่นมือถือก่อนนอนหลับยาก เพราะระดับเมลาโทนินน้อยเกินไป

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่พบการหลั่งเมลาโทนินลดลง จึงทำให้พบภาวะนอนหลับยากที่สัมพันธ์กับอายุได้ มีการทดลองว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป นอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อได้รับเมลาโทนิน

ผู้ที่มีปัญหาจากเจ็ทแลค จากการเดินทางโดยเครื่องบินนานๆ การทานเมลาโทนินจะช่วยให้ร่างกายปรับเวลานอนที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

ในประเทศ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีการอธิบายถึงสรรพคุณที่มากกว่า อย่าง ป้องกันไมเกรน กระตุ้นเส้นผม, จับอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ และอื่นๆ แต่ไม่ใช่สรรพคุณหลักที่แพร่หลายในประเทศอื่น

เมลาโทนิน ปลอดภัย แต่มีข้อเสีย

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนเสริม จัดว่าปลอดภัยสูงกว่ายานอนหลับ ไม่พบอาการติด และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง มีเพียงการง่วงซึมบ้าง จึงควรเลี่ยงการใช้ระหว่างเดินทาน

เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับ ไม่ถึงกับได้ผลทันทีที่ทาน และบางคนที่ยังมีภาวะเครียด เจ็บปวดร่างกาย อาจไม่สามารถนอนหลับได้จากการทานอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนิน

การกินถึงเกินปริมาณที่กำหนด 3mg, 5mg, 10mg ก็ไม่ได้ส่งผลเสียมากนัก แค่อาจเกินความจำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น แต่การกินต่อเนื่องแสดงว่านอนไม่หลับ ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุดีกว่า

มีผลกับยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากันชัก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

Scroll to Top