ประโยชน์เพื่อสุขภาพจากการรับประทานยาเมลาโทนินคืออะไร

อาหารเสริมเมลาโทนินอาจช่วยภาวะบางอย่างได้ เช่นอาการเจ็ทแลค ภาวะการนอนหลับและการตื่นช้าลงกว่าเวลาที่ต้องการ ปัญหาการนอนในเด็กและอาการวิตกกังวลก่อนและหลังการผ่าตัด

ภาวะเจ็ทแลค

อาการเจ็ทแลคส่งผลต่อคนที่เดินทางโดยเครื่องบินที่ต้องข้ามเขตเวลาหลายๆที่ ภาวะเจ็ทแลคอาจทำให้คุณรู้สึกไม่ดีและอาจทำให้รบกวนการนอน มีอาการเหนื่อยตลอดทั้งวัน การทำงานผิดเพี้ยนและมีปัญหาด้านการย่อยจากการวิจัยพบว่าอาหารเสริมเมลาโทนินอาจช่วยอาการเจ็ทแลคได้

จากการศึกษานักเดินทาง 142 คนพบว่าเมลาโทนินช่วยลดอาการเจ็ทแลคได้หลังเดินทางไปทิศตะวันออก

ภาวะการนอนหลับและการตื่นช้าลงกว่าเวลาที่ต้องการ (DSWPD)

คนที่มีภาวะ DSWPD จะมีปัญหาการง่วงนอนตามเวลาปกติและตื่นนอนในตอนเช้า พวกที่มีภาวะดังกล่าวจะมีความยุ่งยากในการนอนก่อน 2 ถึง 6 a.m.และจะตื่นนอนในช่วงระหว่าง 10 a.m. และ 1 p.m. อาหารเสริมเมลาโทนินจะช่วยการนอนในคนที่มีภาวะ DSWPD ได้

ปัญหาการนอนบางอย่างในเด็ก

เด็กที่มีปัญหาด้านการนอนมักส่งผลด้านพฤติกรรม การทำงานในช่วงเวลากลางวันและคุณภาพชีวิต เด็กที่มีภาวะบางอย่างเช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หอบหืด โรคสมาธิสั้น(ADHD)หรือกลุ่มอาการภาวะออทิซึ่ม เอเอสดี มีแนวโน้มจะมีปัญหาด้านการนอนมากว่าเด็กคนอื่น

จากการศึกษาเมื่อปี 2019 ของเมลโทนิน 18 ชนิดกับเด็ก 1,021 คน ในระยะเวาสั้น (1 ถึง 13 สัปดาห์) พบว่าเมลาโทนินช่วยทำให้เวลาในการง่วงนอนและเวลานอนรวมทั้งหมดดีขึ้น ประสิทธิผลของเมลาโทนินมีผลต่อพฤติกรรมและการทำงานในช่วงเวลากลางวัน

ข้อมูลด้านล่างนี้แสดงให้เห็นผลของเมลาโทนินในระยะสั้นสำหรับเด็กที่มีภาวะบางอย่าง

เด็กที่มีภาวะ ASD จะง่วงนอนเร็วขึ้น 37 นาทีและนอนหลับได้นานขึ้น 48 นาที

เด็กที่มีภาวะ ADHD จะง่วงนอนเร็วขึ้น 20 นาทีและนอนหลับได้นานขึ้น 33 นาที

เด็กที่มีภาวะโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะง่วงนอนเร็วขึ้น 6.8 นาทีและนอนหลับได้นานขึ้น 35 นาที

เด็กที่มีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรังจะง่วงนอนเร็วขึ้น 24 นาทีและนอนหลับได้นานขึ้น 25 นาที

เพราะยังไม่มีการศึกษาที่มากพอในเด็กและอาหารเสริมเมลาโทนิน เราจึงไม่รู้ปริมาณยาที่แน่นอนที่แนะนำให้ใช้ในเด็ก ตัวอย่างเช่น  เรายังไม่แน่ใจเรื่องเกี่ยวกับปริมาณยาที่ใช้และควรใช้เมื่อไร ผลกระทบของเมลาโทนินที่ใช้ในระยะยาว ประโยชน์ของเมลาโทนินเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพราะเมลาโทนินคือฮอร์โมน จึงอาจเป็นไปได้ว่าอาหารเสริมเมลาโทนินอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฮอร์โมน ซึ่งรวมไปถึงช่วงวัยรุ่น วงจรรอบเดือนและการผลิตฮอร์โมนโปรแลคตินที่มากเกินไป

อาการวิตกกังวลก่อนและหลังการผ่าตัด

อาการวิตกกังวลทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดเกิดขึ้นกับคนไข้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

อาหารเสริมเมลาโทนินช่วยลดความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดได้ แต่ยังไม่แน่ชัดในการช่วยลดความวิตกกังวลหลังการผ่าตัด

Scroll to Top