เมลาโทนิน ช่วยปัญหาการนอนหลับ

เมลาโทนิน ช่วยปัญหาการนอนหลับเมื่อนึกถึงอาการหรือสภาวะนอนไม่หลับ นอนแล้วหลับ ๆ ตื่น ๆ หากให้นึกถึงวิธีการแก้ไข แต่ละคนก็คงมีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นนอนเร็วขึ้น การปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันในชีวิต ทว่าหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับที่เชื่อว่าใครหลายคนจะต้องนึกถึงกันแน่ ๆ ก็คือการทานยาช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นนั้นเอง ซึ่งยาตัวดังกล่าวที่เราจะกล่าวถึงกันในวันนี้คือ ยาเมลาโทนิน (Melatonin) แต่เจ้ายาเมลาโทนินคืออะไร ช่วยในการนอนหลับอย่างไร แล้วมีผลข้างเคียงไหม

เมลาโทนินคือ

เมลาโทนิน จริง ๆ แล้ว เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสารซึ่งอยู่ในต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง กล่าวคือเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยในการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย หากพูดง่าย ๆ เจ้าเมลาโทนินก็คือยาช่วยให้นอนหลับซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เราทานเข้าไปแล้วจะช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น

เจ้ายาเมลาโทนิน มีความพิเศษตรงที่มันสามารถเข้าไปช่วยปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาในร่างกายของเราได้ ซึ่งแม้ปกติเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ร่างกายเราจะผลิตเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ในร่างกายของบางคนก็อาจจะผลิตน้อยจนเป็นเหตุทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ นอกจากนี้เมื่ออายุของเรามากขึ้น ร่างกายของเราก็จะผลิตฮฮร์โมนตัวนี้น้อยลงด้วย เป็นเหตุที่ทำไมคนสูงอายุมักจะมีการนอนหลับที่น้อยกว่าคนวัยหนุ่มหรือวัยทำงาน และยังมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อย ๆ อีกด้วย เจ้าตัวนี้สามารถเพิ่มฮอร์โฒนดังกล่าวให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้

ในขณะเดียวกันเจ้ายาเมลาโทนินยังมีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยผู้ที่มีปัญหาเวลาเดินทางไปต่างประเทศแล้วร่างกายไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทันทำให้เกิดอาการเหนื่อยและอ่อนล้า (Jet Lag) ได้อีกด้วย เพราะเจ้าอาการ Jet Lag ที่ว่า ก็เป็นผลมาจากสารเมลาโทนินในร่างกายของเราที่ลดลงนั้นเอง

เห็นแบบนี้แล้ว เจ้ายาตัวนี้ก็ดูจะเป็นยาวิเศษ ที่น่าใช้ใช่ไหมล่ะครับ ? แต่เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่งรีบคลิกสลับไปอ่านเฟซหรือเตรียมตัวออกไปซื้อยาเมลาโทนิน เพราะเจ้ายาตัวนี้ มีผลข้างเคียงและข้อควรรู้ที่ต้องระวังก่อนที่จะรับประทานด้วย

ข้อควรระวังและข้อควรรู้

เจ้ายาเมลาโทนินมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นได้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ผลข้างเคียงต่าง ๆ มีดังนี้

1.อารมณ์เศร้า หดหู่

2.อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว

3.อาการปวดท้อง

4.อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง

5.อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน

6.ความต้องการทางเพศลดลง

Scroll to Top