เมลาโทนินมีผลต่อทุกฮอร์โมน

เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ต่อมไพเนียล (pineal gland) ในสมอง โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นให้หลั่งเมลาโทนินเข้าสู่กระแสเลือดและจะหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง โดยร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนินออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินทำให้คนเรารู้สึกง่วงและระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะคงอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 10 – 60 พิโคกรัมต่อมิลลิตร (pg/mL) ติดต่อกัน 12 ชั่วโมง ก่อนที่ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะลดลงตอนเช้า จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.00 น. ระดับเมลาโทนินในร่างกายจะลดต่ำลงจนวัดระดับไม่ได้

ในระบบฮอร์โมนไม่ได้ทำงานเดี่ยวๆ แยกกัน แต่กลับกันคือฮอร์โมนทุกตัวทำงานส่งเสริม-สนับสนุน-ต่อเนื่อง-ยับยั้ง ซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตราที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้นมาบรรเลงร่วมกัน ฮอร์โมนทุกอย่างในร่างกายก็เหมือนกันที่ต้องมาทำงานร่วมกันทั้งหมดทุกตัว โดยที่มีเมลาโทนินฮอร์โมนเป็นตัวควบคุมหลัก เป็นจุดเริ่มต้นของการบรรเลงเพลง ถ้าคอนตักเตอร์ทำงานสมบูรณ์ดี วงทั้งวงก็บรรเลงเพลงออกมาได้ดี

เลือกยี่ห้อเป็นอย่างสุดท้าย ขึ้นกับคุณภาพของแต่ละยี่ห้อและงบประมาณส่วนตัว

ยี่ห้อเดียวกันบางคนใช้แล้วเห็นผล แต่บางคนใช้แล้วไม่เห็นผล เงื่อนไขของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน งบประมาณแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน สุดท้ายดีที่สุด คือ การลองใช้กับตัวเอง

เริ่มใช้จากโดสต่ำสุดเสมอ

เริ่มต้นจากปริมาณที่ต่ำที่สุด คือ 1 มิลลิกรัม ลองดูก่อนว่าผลเป็นยังไง ถ้าไม่เห็นผล ลองปรับปริมาณเพิ่มขึ้นไปเป็น 1.5 มิลลิกรัม แล้วดูผลว่าเป็นยังไง ถ้าไม่เห็นผล ก็ลองทยอยปรับปริมาณเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 2 มิลลิกรัม แล้วดูผลว่าเป็นยังไง แต่ยังไงอย่าลืมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสนับสนุนให้เมลาโทนินฮอร์โมนทำงานได้ดีที่สุดเพราะเมลาโทนิน (Melatonin) ไม่ใช่ยานอนหลับ แต่คือฮอร์โมนที่คอยบอกเวลาร่างกาย

Scroll to Top