หลายๆ คนอาจจะคิดว่านอนไม่หลับ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนสามารถทำได้ทั่วไป ไม่ส่งผลเสียอะไรมาก หลายครั้งที่วาดไม่สดชื่น อย่าหลับบ่อยเข้าก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายตามมา
อาการที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับจะเป็นอย่างไร?
- โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
แน่นอนว่าสำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับบ่อยครั้งเข้าก็มีโอกาสเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยจะใช้เวลานานกว่าคนปกติทั่วไปมากถึง 30 นาทีในการที่จะนอนหลับ หรืออาจะเรียกได้ว่าเป็นคนหลับยาก หลับๆ ตื่นๆ บ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังส่งผลให้เข้าห้องน้ำในช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง เนื่องจากระบบภายในร่างกายดูดซับน้ำมากกว่าผู้ที่นอนหลับได้อย่างปกติ
- โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้ากับปัญหาการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กันในด้านการส่งผลกระทบต่อสมอง เนื่องจากทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เกิดความคิดแง่ลบมากขึ้นในช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระดับสารเคมีในสมองซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าอีกด้วย
โดยผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่นอนหลับสนิท ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เสี่ยงมีอาการของโรครุนแรงมากยิ่งขึ้น หากนอนหลับไม่เพียงพอ
- โรคอัลไซเมอร์
ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นสาเหตุและตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการสะสมของเบตาอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนพิษที่คอยบีบเซลล์ประสาท เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความจำและความคิด โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์
- ระบบย่อยอาหารภายในร่างกายรวน
ปัญหาการนอนไม่หลับ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, อาหารไม่ย่อย และการถ่ายอุจจาระไม่เป็นปกติ บางครั้งอาจมีอาการปวดท้องมากร่วมด้วย เพราะกระเพาะอาหารเกิดการล้าเนื่องจากทำงานหนักตลอดวัน
ให้เมลาโทนินเป็นตัวช่วยเรื่องการนอนหลับ เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่มีช่วยควบคุมการนอนหลับของเรา โดยสมองจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาในช่วงเวลากลางคืน จึงทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและทำให้หลับง่ายขึ้นนั่นเอง แต่เมื่อเมลาโทนินในร่างกายลดลง ก็อาจส่งผลให้เรามีปัญหาทางด้านการนอน และอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับได้ในที่สุด อีกทั้งเมลาโทนินยังอาจจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นกะ หรือมีเวลาหลับ-ตื่นต่างจากคนทั่วไป ซึ่งจะทำให้วงจรในการนอนหลับของเรารวนได้ ดังนั้นการกินอาหารที่มีเมลาโทนินเข้าไป ก็จะช่วยทำให้เราหลับได้ง่ายขึ้น