
การนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น
– หลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับแม้ว่าบางทีง่วงแล้ว (initial insomnia)
– หลับๆ ตื่นๆ (intermittent insomnia) ตื่นกลางดึก (middle insomnia)
– หรือ ตื่นเร็วกว่าที่ตั้งใจแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ (terminal insomnia)
นอกจากการค้นหาสาเหตุ และรักษาให้ตรงจุดแล้ว
สิ่งที่สำคัญมากอีกประการ คือ สุขนิสัยในการนอน (sleep hygiene)โดยหลักการสำคัญๆ คือ 1.ห้องน่านอน ร่างกายผ่อนคลาย จิตใจไร้กังวล2.ฝึกร่างกายให้เรียนรู้ จดจำกิจวัตรเกี่ยวกับการนอน เช่น เตียงมีไว้นอนเท่านั้น เมื่อทำอย่างต่อเนื่อง และนานพอ (เป็นเดือนๆ)
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเรื่อง “การนอนหลับยามค่ำคืน

- การผ่อนคลาย สำคัญกว่า การพยายามนอนหลับ
- การพักผ่อน กับ การผ่อนคลายไม่เหมือนกัน เพราะ การพักผ่อนบางอย่าง ไม่ใช่การผ่อนคลาย แต่อาจเพิ่มความคิด ความเครียด และ ความกดดัน ด้วยซ้ำเช่น การพักผ่อนโดยการเล่น ไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย เช่น facebook หลายครั้ง เล่นไปเล่นมา กลับเครียด หรือ ใจคอไม่สงบ เพราะ เกิด ดราม่าขึ้นในใจ อย่างมากมาย
- หลับหรือไม่หลับ ไม่สำคัญสิ่งสำคัญคือ การผ่อนคลายเมื่อผ่อนคลาย ทั้งร่างกาย และ จิตใจนอนหลับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตอนเช้าสามารถสดชื่นได้
- การนอนหลับ หรือ ไม่หลับ เป็น เรื่องธรรมชาติ (บังคับไม่ได้)แต่การผ่อนคลาย ร่างกาย และ จิตใจเป็นสิ่งที่เราเลือกได้และ การผ่อนคลาย เป็นสิ่งสำคัญกับสุขภาพกาย และ สุขภาพใจมากกว่า
- สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการนอน คือ “ความคาดหวัง” ที่จะหลับฝึกรู้ทัน.. และ วางมันลง…คือ เคล็ดลับของความสุขในยามค่ำคืน
- การนอนไม่หลับ ไม่ใช่ หายนะการตื่นกลางดึก ก็ไม่ใช่หายนะเช่นกันการไม่ผ่อนคลาย ความกดดัน และ การบังคับตัวเองให้หลับ ต่างหากที่เป็น(เมื่อใจกายผ่อนคลาย ตอนเช้าก็สดชื่นได้ แม้ไม่ได้นอน)
- การนอนหลับ ไม่ใช่หนทางเดียวที่จะช่วยเยียวยาร่างกายตอนกลางคืนการผ่อนคลาย การปล่อยวาง ต่างหากที่ช่วยเมื่อไม่ตั้งใจจะหลับ การหลับที่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นเอง
- เมื่อไม่กลัว “การนอนไมหลับ”ชีวิตก็ง่ายขึ้นเยอะ(นอนหลับหรือไม่หลับ จึงไม่เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เครียด กังวล อีกต่อไป)
- สรุป ปัญหา “การนอนไม่หลับ” ไม่ใช่ปัญหาแต่วิธี “การคิด” และ “การพยายามที่จะหลับให้ได้”ต่างหากที่เป็นปัญหา
