เมลาโทนิน ข้อควรทราบก่อนใช้สำหรับคนนอนไม่หลับ

         เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ต่อมไพเนียล (pineal gland) ในสมอง โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นให้หลั่งเมลาโทนินเข้าสู่กระแสเลือดและจะหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง โดยร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนินออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินทำให้คนเรารู้สึกง่วงและระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะคงอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 10 – 60 พิโคกรัมต่อมิลลิตร (pg/mL) ติดต่อกัน 12 ชั่วโมง ก่อนที่ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะลดลงตอนเช้า จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.00 น. ระดับเมลาโทนินในร่างกายจะลดต่ำลงจนวัดระดับไม่ได้

Lukkme วิตามินนอนหลับ เมลาโทนิน เมลาโทนินธรมมชาติ lukkme
เมลาโทนิน (Melatonin)

        เมลาโทนินมีกี่แบบมี 2 แบบ ได้แก่

ปลดปล่อยทันที มีลักษณะคล้ายยาเม็ด หรือขนมเยลลี ขนาด 3,5 และ 10 มิลลิกรัม ในประเทศไทยไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นยค่อย ๆ ออกฤทธิ์จำหน่ายเป็นยา ขนาด 2 มิลลิกรัม รับประทานก่อนนอน 1 ชั่วโมง ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 13 สัปดาห์  เมลาโทนินมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับและเกี่ยวข้องกับวงจรการนอนของเรา ดังนั้นจึงมีการนำเมลาโทนินมาประยุกต์ใช้ในการรักษาอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการนอนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอาการนอนไม่หลับเมื่ออายุมากขึ้น ในปัจจุบัน เราสามารถผลิตเมลาโทนินด้วยวิธีการสังเคราะห์ได้แล้ว โดยมักผลิตเป็นอาหารเสริมหรือผลิตเป็นยาในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ประโยชน์เมลาโทนิน พอสรุปได้มีดังนี้

โรคนอนไม่หลับ

รักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) รักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพรักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed sleep phase syndrome) อาการของโรคนี้คือไม่สามารถนอนหลับก่อนเวลาตีสองได้บรรเทาอาการง่วงนอนเนื่องจากเจ็ทแลค (Jet lag)ช่วยคนที่ทำงานเป็นกะ (Shift work) ให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

ที่ได้กล่าวมานี้เชื่อว่าหลายคนก็คงได้รู้จักกับเมลาโทนินในแง่มุมต่างๆที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการนอนไม่หลับ และสนใจในการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เบื้องต้นอยากให้สังเกตแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆเป็นอันดับแรก โดยอาจปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติเพื่อการนอนหลับ (sleep hygiene) เช่น พยายามนอนหลับให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน แม้จะเป็นในวันหยุด และ นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารเป็นกิจวัตรควรปิดอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการเข้านอน เป็นต้น โดยการปรับพฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและยั่งยืน อย่างไรก็ตามหากท่านมีข้อสงสัยด้านการใช้ยา ไม่ว่าจะกำลังใช้ยาเมลาโทนินนี้อยู่ หรือสนใจที่จะใช้ยาควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อให้ท่านใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

เมลาโทนินอันตรายไหม หากรับประทานโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานรองรับจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาจะมีความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

1.ปวดหัววิงเวียนบริเวณศีรษะ

2.ง่วงตลอดทั้งวัน

3.ปวดท้อง

4.กังวล

5.หงุดหงิดซึมเศร้าในระยะสั้น

LUKKME Melatonin
ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนิน

ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนินเพราะมีส่วนในการกระตุ้น หรือขัดขวางการทำงานของยาในผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง

ผู้ที่ควรระวังการกินกินอาหารเสริมเมลาโทนิน

1.ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

2.ลมชัก

3.ความบกพร่องบริเวณตับ ไต

4.สตรีตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

5.ใช้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท

6.ไม่ควรบริโภคก่อนเข้าทำงาน หรือขับขี่ยานพาหนะ

การใช้เมลาโทนินเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการนอนหลับได้ จะต้องปรับพฤติกรรมด้วย เช่น งดเสพโซเชียลมีเดียผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ผ่อนคลายความเครียด เหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนัก ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมสันทนาการ ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณเยอะเกินไป รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอน เป็นการแก้ไขต้นเหตุของการนอนหลับผิดปกติได้

Scroll to Top