เมลาโทนิน ผู้สูงอายุกินได้ไหม

ผู้สูงอายุ

เมลาโทนิน ผู้สูงอายุ อันตรายไหมอาการนอนไม่หลับ เป็นอาการหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปที่อยู่ในชุมชนจะมีปัญหานอนไม่หลับมากกว่าครึ่ง ยิ่งกว่านั้น อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ ทางสมอง การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มาจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ

การเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น

1.การเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น โดยปกติเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น สมองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่งผลกับการนอนของผู้สูงอายุ คือ ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น (ตอนที่กำลังเคลิ้ม แต่ยังไม่หลับสนิท) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง มีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก อย่างไรก็ตามแม้ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจสมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรือคิดไปว่านอนไม่หลับ แต่มีข้อที่น่าสังเกต คือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะดูเหมือนว่านอนไม่หลับแต่ช่วงกลางวันมักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด

2.มีโรคซ่อนอยู่ ยาบางประเภทโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ เช่น ใช้ยานอนหลับนานๆ ยารักษาอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าในโรคพาร์กินสัน หรือบางครั้งอาจเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับโรคทางสมอง

เมลาโทนินเหมาะกับใคร

เนื่องจากเมลาโทนินมีคุณสมบัติเป็นตัวช่วยในการคงการหลับ (maintain sleep) ซึ่งจะทำให้ง่วงหรือหลับเร็วจึงเหมาะกับกลุ่มคนดังต่อไปนี้

อาการนอนไม่หลับ

1.บุคคลที่มีอาการนอนหลับผิดเวลา หรือ delayed sleep phase syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. และมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า

เมลาโทนิน เมลาโทนินธรรมชาติ LUKK ME วิตามินนอนหลับ
โรคนอนไม่หลับ (insomnia)

2.บุคคลที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia)

คนที่ทำงานเป็นกะ

3.บุคคลที่มีปริมาณเมลาโมนินต่ำเกินไปเนื่องจากเกิดภาวะเจ็ทแลค (jet lag) หรือทำงานเป็นกะ (shift work)

.ผู้สูงอายุ

4.ผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตเมลาโทนินได้น้อยลง ส่งผลให้เวลานอนของผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยแล้วลดน้อยลงและประสบกับปัญหานอนไม่หลับบ่อยครั้ง เมลาโทนินจึงช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ และระยะเวลาในการนอนหลับที่ดีมากขึ้น

เมลาโทนินธรรมชาติ LUKKME เมลาโทนิน การนอนหลับ
เมลาโทนินธรรมชาติ LUKKME เมลาโทนิน การนอนหลับ

 

รับประทานได้แต่ต้องระวัง

เนื่องจากเมลาโทนินเป็นฮอร์โมน ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม ดังนั้นจะต้องใช้ในขนาดที่ถูกต้อง ถูกเวลา และถูกระยะเวลา หากต้องการรับประทานเมลาโทนินเป็นตัวช่วยในการนอนหลับควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน อีกทั้งการรับประทานอาหารเสริมเมลาโทนินอาจจะมีผลข้างเคียง เช่น ไปลดการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินตามธรรมชาติ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาหารเสริมเมลาโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ยาคุมกำเนิด ยาลดภูมิคุ้มกัน  (immunosuppressants) เป็นต้น

Scroll to Top