เมลาโทนิน สำหรับเด็ก ปลอดภัยจริงไหม

เมลาโทนิน สำหรับเด็ก ปลอดภัยจริงไหม คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า เมลาโทนิน ที่มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับได้สบาย และมีหลายท่านอาจสงสัยว่าเมลาโทนินสามารถใช้กับเด็ก หรือลูกน้อยของตนเองได้หรือไม่ วันนี้เรามี คำตอบมให้แล้ว ไปดูกันดีกว่า เมลาโทนิน สำหรับเด็ก ปลอดภัยจริงไหม

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่สมองของเรานั้นจะผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

เมลาโทนิน คืออะไร

Melatonin หรือเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่สมองของเรานั้นจะผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมไพเนียลที่อยู่ในส่วนลึกของสมองปล่อยให้เข้าสู่กระแสเลือด โดยเป็นฮอร์โมนที่มีความเชื่อมโยงกับการนอนหลับ เป็นการควบคุมการนอนหลับและการตื่นนอนตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ โดยปรับให้เข้ากับการกลางวันและกลางคืน การผลิตเมลาโทนินของร่างกายจะหยุดผลิตก็ต่อเมื่อมีแสงสว่างหรือในเวลากลางวันนั่นเอง นอกจากนี้ ในปัจจุบันเมลาโทนินมักจะอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้มีการสังเคราะห์ออกมาให้คล้ายคลึงกับฮอร์โมนที่ร่างกายของเรานั้นผลิตได้ จึงทำให้รับประทานเพียงแค่เล็กน้อยเป็นระยะเวลาไม่นานก็สามารถทำให้คุณอาจรู้สึกง่วงได้

ทั้งนี้เมลาโทนินยังมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสุขภาพร่างกาย หรือมีพฤติกรรมเฉพาะบางอย่างให้สามารถเข้านอนได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

1.โรคสมาธิสั้น (ADHD)

2.หอบหืด (Asthma)

3.กลุ่มอาการออทิสติก (Autism Spectrum Disorders: ASD)

4.โรคผิวหนังภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)

ปริมาณเมลาโทนินเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

การบริโภคเมลาโทนินสำหรับเด็ก

 

การบริโภคเมลาโทนินสำหรับเด็กนั้นปริมาณที่หมาะสมจะต้องเป็นปริมาณที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำหนดเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว เด็ก ๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาในปริมาณที่สูงนัก บางครั้งปริมาณเพียงแค่ 0.5 มิลลิกรัมก็เพียงพอสำหรับพวกเขาแล้ว ดังนั้นคุณควรพูดคุยหรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของคุณเกี่ยวกับการนอนหลับของเด็ก ๆ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าลูกน้อยของคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มลาโทนินในการนอนหลับหรือไม่

เมื่อไหนที่ไม่ควรใช้เมลาโทนินเด็กแต่ละคนนั้นมีความจำเป็นและความต้องการในการใช้เมลาโทนินเพื่อให้นอนหลับในช่วงเวลากลางคืน โดยมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ แต่ก็มีเด็กบางประเภทและสถานการณ์บางอย่างที่ไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้เมลาโทนิน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.เด็กที่มีความวิตกกังวล หรือจากสถานการณ์ที่ทำให้คิดมากหรือไม่สบายใจ

2.ไม่ควรใช้กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ขวบ

3.เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพ อาทิ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือละเมอเดิน

4.เด็กที่มีปัญหาการนอนไม่หลับเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่หู เข้าหูหรือมีสิ่งรบกวนทำให้เขานอนไม่หลับ

ปรับปรุงสภาพการนอน

แต่อย่างไรก็ตามเมลาโทนินไม่ควรเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการนอนหลับเพื่อสุขภาพ แต่การเข้านอนของเด็ก ๆ ควรเป็นไปตามธรรมชาติ สิ่งที่คุณควรตรวจเช็กลูกน้อยของคุณคือการนอนหลับที่หมาะสมต่อวัย ระยะเวลาในการนอนที่สม่ำเสมอจนกลายเป็นกิจวัตร การไม่ให้เด็ก ๆ ดื่มคาเฟอีนก่อนเข้านอน และจะต้องไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือแสงรบกวนในช่วงของการเข้านอน

Scroll to Top