นอนน้อยแต่นอนนะ อันตราย เสี่ยงโรค

การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ ควรอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง

นอนน้อยแต่นอนนะ อันตราย เสี่ยงโรค การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ ควรอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง/วัน เพราะในขณะที่เรานอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้พัฒนากระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญได้อย่างเต็มที่ หากนอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน สะสมไปเรื่อยๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ รวมถึงเกิดโรคเหล่านี้ตามมาได้

โรคที่มากับการนอนน้อย หรือนอนหลับไม่พอ

โรคอ้วน

1.โรคอ้วน นอนน้อยทำให้ระบบเจริญเติบโตแปรปรวน ทำให้อิ่มช้า และมีความอยากอาหารที่มีไขมันมากขึ้น

ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา

โรคเบาหวาน

2.โรคเบาหวาน การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น

โรคเบาหวาน นั้นบางทีเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรบ่งบอก ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ หากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินไปมากแล้วจึงจะรู้ตัว สังเกตตัวเองด่วน!! คุณมีอาการเสี่ยงโรคเบาหวาน หรือไม่

นอนไม่ดี ชอบตื่นกลางดึก

3.โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ใช้เวลามากกว่า 30 นาทีถึงจะหลับได้ หลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน และมีอาการดังกล่าวมามากกว่า 1 เดือน

โรคหัวใจ

4.โรคหัวใจ นอนน้อยหรือนอนไม่เพียงพอ ทำให้มีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

ผลกระทบการอดนอนต่อร่างกายและอารมณ์

ร่างกายอ่อนเพลีย

1.ร่างกายอ่อนเพลีย เพราะไม่มีการสำรองพลังงานมาใช้ในวันรุ่งขึ้น  มีผู้กล่าวว่าถ้าร่างกายมีพลังงานอยู่เท่ากับ 100% จะหมุนเวียนพลังงานใช้จริงอยู่เพียง 70% ที่เหลืออีก 30% จะเป็นพลังงานสำรองของชีวิตเอาไว้ใช้ในยามป่วยไข้ไม่สบายหรือใช้ในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ รวมถึงภาวะอดนอนนี้ด้วย จึงพบว่าถ้าอดนอนสั้น ๆ จะไม่เป็นอะไรมาก  แต่ถ้านานไปพลังงานที่เหลือ 30% นี้ก็จะร่อยหรอลงและเมื่อนั้นก็จะมีอาการไม่สบายชัดเจนขึ้น

2.เกิดโรคอ้วนตามมาได้ เนื่องจากเกิดความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้องรับประทานมากยิ่งขึ้น อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 (Diabetes type 2) การที่เราตื่นอยู่นานแบบอดนอน ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น จึงรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้นไปอีก จากหลักฐานการศึกษาพบว่า ความอ้วนที่เกิดจากการอดนอนพบได้บ่อยขึ้นในคนอายุน้อย หรือในวัยกลางคนมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจัยเสริมอย่างอื่น เช่น การดูทีวีรอบดึกก็มีผลให้อยากรับประทานอาหารเพิ่มอีก 1 มื้อ หรืออยากรับประทานขนมขบเคี้ยวมากขึ้นก็จะยิ่งเป็นตัวเสริมให้อ้วนขึ้นไปเรื่อย ๆ

3.ร่างกายไม่เจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเนื่องจากฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกรบกวน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการอดนอนเลยก็เกิดขึ้นได้

การรักษาเรื่องอดนอนที่ได้ผลดีที่สุด คือ การนอนให้พอเพียง อาจจะใช้เวลานอนให้มากกว่าปกติในวันก่อนที่รู้ว่าจะต้องอดนอน และเมื่ออดนอนมาแล้วก็ควรหาเวลานอนชดใช้ให้มากพอ ภาวะอดนอนก็จะดีขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องไปหาการรักษาที่ยุ่งยากอื่น

Scroll to Top