เมลาโทนินทางเลือกที่ใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ

มนุษย์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (young adult) ใช้เวลาในการนอนหลับแต่ละคืนเฉลี่ยประมาณ 7 – 8 ชั่วโมง โดยการ

นอนหลับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ non-rapid-eye-movement (NREM) sleep และ rapideyemovement(REM) sleep เมื่อเริ่มเกิดการนอนหลับ จะมีการเข้าสู่ stage 1 NREM ในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจึงตามด้วย stage 2 และ3 NREM และในที่สุดจะเข้าสู่ REM ซึ่งการนอนหลับแต่ละครั้งจะเกิดวงจรของ NREM และ REM สลับกันไปตลอดคืน พบว่าการนอนชนิด NREM และ REM เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 75 – 80 และร้อยละ 20 – 25 ของเวลาที่ใช้ในการนอนทั้งหมดตามลำดับ

การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นต้องเกิดการนอนแต่ละชนิดในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะ REM ซึ่งเป็นช่วงที่มี

ความสำคัญต่อการพัฒนาของสมอง (brain development) การเกิด neuronal plasticity การเก็บความจำ (memory

consolidation) และการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับในช่วง REM จัดเป็น restorative sleep คือทำให้ได้การนอนหลับที่

มีคุณภาพ ตื่นมาด้วยความสดชื่นและรู้สึกว่าได้นอนเต็มอิ่ม ดังนั้นในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับและจำเป็นต้องใช้ยารักษานั้น

หลักการที่สำคัญประการหนึ่งของการเลือกยาที่มีประสิทธิภาพคือ ยาชนิดนั้นต้องไม่มีผลลดการนอนในช่วง REM

บทบาทของเมลาโทนินในการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์จากต่อมไพเนียล (pineal gland) ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสรีรวิทยา

ของการนอนหลับและวงจรการหลับ-ตื่น (sleep-wake cycle) โดยจะมีการหลั่งออกมามากในตอนกลางคืนและมีระดับต่ำ

ในช่วงกลางวัน (circadian hythm) ระดับสูงสุดในพลาสมาของเมลาโทนินจะเกิดในช่วงเวลาประมาณ 2.00 น. ถึง 3.00 น.

ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหลับลึก เมลาโทนินออกฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับโดยการกระตุ้น melatonin 1a (MT1) และ

melatonin 1b (MT2) receptors ซึ่งพบหนาแน่นที่ suprachiasmatic nucleus (SCN) ของ hypothalamus’0 การกระตุ้น MT2 receptor จะช่วยในการควบคุม circadian rhythm ส่วนการกระตุ้น MT1 receptor จะทำให้การทำงานของSCN ลดลง โดย SCN ซึ่งปกติใช้ gamma-aminobutyric acid (GABA) เป็นสารสื่อประสาทจะส่งสัญญาณประสาทไปยังsleep-promoting nucleus (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO) ผ่านทาง dorsomedial hypothalamus (DMH)เมื่อ SCN ทำงานลดลง จึงลดการหลั่ง GABA ไปที่ VLPO เมื่อ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitoryneurotransmitter) มีปริมาณลดลง จึงส่งผลให้ VLPO ถูกกระตุ้นและเข้าสู่การนอนหลับ (เปิด sleep gate) ได้ในที่สุด”

Scroll to Top