เมลาโทนิน (Melatonin) กับการนอนหลับ

 

เมลาโทนิน เป็นสารที่สร้างจากต่อมไรท่อชื่อ ไพเนียล แกลนด์ (PINEAL GLAND) ปกติเมลาโทนินจะถูกสร้างมากในเวลากลางคืน และน้อยในเวลากลางวัน  เมื่อแสงสว่างส่องผ่านนัยน์ตาในเวลากลางวัน  ไพเนียลแกลนด์จะหยุดผลิตเมลาโทนินทันทีที่ได้รับแสงสว่าง แต่จะสร้างสารเซโรโทนิน  (SEROTONIN)  ทำให้ร่างกายมีชีวิตชีวากระฉับกระเฉงขึ้น  จึงมีการนำเมลาโทนินไปใช้ในผู้ที่นอนหลับยาก  และยังพบว่าเมลาโทนินในการควบคุมระบบการทำงานของร่างกายโดยไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับการนอนหลับเท่านั้น   แต่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์  ระบบประสาท  ระบบต่อมไร้ท่อ  ระบบภูมิคุ้มกัน  ระบบการต้านออกซิเดชัน  แต่เราสามารถสร้างเมลาโทนินได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาในรูปแบบอาหารเสริมหรือยา ดังนี้

  1. อยู่ทามกลางแสงแดดบ้าง เพราะแสงแดดธรรมชาติช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินได้ถึงระดับสูงสุด ดังนั้นเมื่อออกไปรับแสงแดดบ้างจะช่วยให้สมองทำปฏิกิริยากับแสงที่ค่อยๆมืดลงในยามค่ำคืนอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้นอนหลับสบาย
  2. ทำสมาธิ เพราะการทำสมาธิช่วยลดความเร็วคลื่นสมอง ช่วยผ่อนคลายความเครียดเกร็งจากความคิด เมื่อคลื่นสมองต่างๆเหล่านี้ช้าลง ฮอร์โมนเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้น
  3. นอนในที่มืดสนิท เพราะแสงอันน้อยนิดก็สามารถขัดขวางการสร้างเมลาโมนิน ทำให้นอนหลับไม่สนิท ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่มีแสงจากทางเดินหรือจากห้องน้ำ ให้เลือกใช้ไฟที่มีสีเหลือง
  4. รับประทานอาหารที่มีเมลาโทนินสูง คือ ข้าวโอ๊ต ข้าวโพดหวาน ข้าว ขิง มะเขือเทศ กล้วย ข้าวบาร์เลย์
  5. รับประทานอาหารที่มีปริมาณทริปโทแพน (TRYPTOPHAN) สูง ซึ้งเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์เมลาโทนิน ได้แก่ สาหร่ายสไปรูริน่า ถั่วเหลือง เนยแข็ง ตับไก่ เมล็ดฟักทอง เม็ดแตงโม เต้าหู้ ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง นม ไอศกรีม โยเกิร์ต

    ความปลอดภัยของเมลาโทนินในรูปแบบยา  มีอันตรายไหม?

         การศึกษาในคนไม่พบอาการข้างเคียงในการใช้เมลาโทนินขนาด 1-300  มก.  และไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง  และไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงของการใช้เมลโทนินสูงถึง  1  กรัม  เป็นเวลา  30  วัน

Scroll to Top