เมลาโทนินฮอร์โมนที่กำลังหายไป?

เมลาโทนิน (Melatonin) ฮอร์โมนตัวสำคัญที่ผลิตจากสมองส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “#ต่อมไพเนียล (Pineal gland)” มีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น (Sleep-Wake cycle) ของคนเรา

โดยธรรมชาติแล้ว เมลาโทนินจะถูกผลิตและหลั่งออกมามากเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่ประมาณ 4-5 ทุ่ม และมีปริมาณมากที่สุดเมื่อประมาณ ตี 2 แล้วจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเข้าสู่เช้าวันใหม่ พร้อมกับการเพิ่มระดับสูงขึ้นของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เพื่อให้ร่างกายเราเตรียมพร้อมในการใช้ชีวิต ทำมาหากิน ต่าง ๆ นั่นเอง

ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เมลาโทนินทำงานได้ถูกที่ถูกเวลา ?

เป็นคำถามที่เราได้เรียนรู้กันมานานและได้คำตอบแล้วว่า ปัจจัยที่ทำให้เมลาโทนินผลิตและหลั่งออกมาได้อย่างพอเหมาะพอควร ก็คือ #เรื่องของความแตกต่างของแสงสว่างที่เราได้รับในแต่ละวันนั่นเอง เนื่องจากสิ่งที่กระตุ้นให้สร้างเมลาโทนิน ก็คือ สัญญาณประสาทจากการที่มีแสงสว่างที่ลดลง ที่ผ่านเข้าไปยังจอประสาทตา (หรือที่เราเรียกว่า เรติน่า : Retina) แล้วส่งต่อสัญญาณไปตามเส้นประสาทเข้าสู่ต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินเกิดขึ้น เมื่อเเสงสว่างลดลง ความมืดเข้ามาเยือน ต่อมไพเนียลก็จะเริ่มหลั่งเมลาโทนินออกมา ทำให้เรารู้สึกง่วงเหงาหาวนอนนั่นเองครับ

นี้จึงเป็นคำตอบว่า ถ้าอยากนอนหลับได้ดี หลับสนิท เราจะต้องปิดไฟให้มืดสนิท อยู่ในห้องนอนที่ไร้เเสง สี เสียง รบกวน และ ขยันออกไปโดนแดด เอาตัวเองออกไปกล้างแจ้งให้เจอแสงแดดบ้างในทุก ๆ วัน

นอกจากนี้แล้ว เมลาโทนิน ช่วยควบคุมการทำงานที่สมดุลของนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย (Biological clock) ซึ่งอยู่ที่สมองส่วน ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) มีความสำคัญในกระบวนการทำงานของร่างกายต่าง ๆ ทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความดันเลือด และ การทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ

ตัวเมลาโทนินเองยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน และ ต้านการติดเชื้อไวรัส อีกด้วย

LUKKME Melatonin
LUKKME Melatonin

เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเมลาโทนินได้ลดลง ทำให้หลายคนมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ (Insomnia) หลับยาก หรือ หลับไม่มีคุณภาพ ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเรื่องการนอน นับวันยิ่งพบมากขึ้นในคนยุคนี้ ทั้งในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ หรือแม้แต่คนที่ต้องทำงานเป็นกะ (Shift work) เป็นต้น

หลายคนจึงเริ่มมองหายา หรือ อาหารเสริมที่ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น บางคนอาจจะได้รับยานอนหลับต่าง ๆ ที่จ่ายโดยแพทย์ ซึ่งช่วยให้นอนหลับได้ดี แต่ก็ต้องมีปัญหาตามมา นั่นก็คือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการง่วงซึมช่วงกลางวัน มึนศีรษะ คิดช้า ความจำลดลง น้ำหนักเพิ่มขึ้น และยังทำให้ติดยานอนหลับได้อีกด้วยหากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นาน

บางคนอาาจะหาข้อมูลเกี่ยวกับเมลาโทนิน ก็ซื้อหาเมลาโทนินในรูปแบบอาหารเสริม (Dietary supplements) มารับประทานเอง ซึ่งปริมาณมิลลิกรัมต่อเม็ดค่อนข้างหลากหลาย แตกต่างกันไป และผลที่ได้รับก็คาดเดาได้ยาก เนื่องจากเมลาโทนินในรูปแบบอาหารเสริมนั้นมักเป็นแบบออกฤทธิ์เร็ว หรือ Immediate-release melatonin ต่างจากเมลาโทนินที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ทำให้ผลที่ได้ไม่ดีมากเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาอีกด้วย จึงอาจมีผลข้างเคียง หรือ อันตรายในการรับประทานได้ นั่นเอง

รีวิวจากผู้ใช้จริง วิตามินนอนหลับ เมลาโทน_4
รีวิวจากผู้ใช้จริง วิตามินนอนหลับ เมลาโทน_4
รีวิวจากผู้ใช้จริง วิตามินนอนหลับ เมลาโทน_1
รีวิวจากผู้ใช้จริง วิตามินนอนหลับ เมลาโทน_1
Scroll to Top