เมลาโทนินทำงานอย่างไร จะทำหน้าที่ช่วยควบคุม “จังหวะ” การทำงานของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ประสานการนอนหลับทั้งกลางวัน กลางคืน เป็นวงจรการหลับ-ตื่น เรียกว่า Circadian Rhythm หรือจังหวะนาฬิกาชีวิต ร่างกายจะทำงานเป็นเวลาทั้งในขณะหลับ ตื่น หรือทานอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักตัว และระดับของฮอร์โมนบางชนิดอีกด้วย
ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มสูงขึ้น เมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า แสงภายนอกเริ่มมืดลง เป็นการส่งสัญญานให้ร่างกายทราบว่าได้เวลาพักผ่อนแล้ว และจะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วงเวลา 4 ทุ่ม ถึงตี 2 พอตอนเช้าเมื่อเริ่มมีแสงสว่าง ระดับฮอร์โมนก็จะลดลง ร่างกายก็จะเริ่มตื่นตัว เพื่อพร้อมทำงานในวันใหม่
ใครบ้างจำเป็นต้องใช้เมลาโมนินแก่ปัญหาการนอนไม่หลับอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการมักเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนนี้ต่ำเกินไป
โรคระยะหลับหรือตื่นล่าช้า Delayed Sleep-Wake Phase Disorder (DSWPD)เป็นโรคเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งตารางการนอนหลับของคนเหล่านี้ล่าช้าไปสองชั่วโมงหรือมากกว่าเวลานอนตามปกติ การนอนหลับช้านี้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาตื่นตามต้องการได้ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานกลางคืน ซึ่งการนอนหลับให้เพียงพออาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางท่าน ด้วยภาระหน้าที่ที่เลี่ยงได้ยาก เช่น งานเลี้ยงสำคัญหรือนัดกลางคืน จากการศึกษาพบว่าการรับประทานในปริมาณต่ำก่อนเข้านอน มีส่วนช่วยให้ผู้ที่เป็น DSWPD ปรับวงจรการนอนให้กลับมาเป็นปกติได้
หากทานมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้นในแถบประเทศเขตหนาว ช่วงเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ประชากรในแถบนี้อาจมีภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล (Seasonal Affective Depression หรือ SAD) เนื่องจากมีปริมาณเมลาโทนินมากจนเกินไป ส่งผลให้มีปัญหานอนไม่หลับ สภาพจิตใจและอารมณ์แปรปรวนได้ในช่วงฤดูหนาว
เมลาโทนิน ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวให้สัญญาณเท่านั้น ไม่ได้เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เพราะการนอนเป็นหน้าที่ของส่วนอื่นในสมอง ที่ให้ฮอร์โมนนี้มากระตุ้นให้เริ่มนอนได้แล้ว และยังสามารถช่วยให้นอนหลับดีขึ้นได้ในบางกรณี แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักและพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อย่างรอบคอบ
ก่อนลองใช้ วิธีที่ดีที่สุดที่อยากแนะนำคือ ปรับนิสัยการนอนหลับให้ดีต่อสุขภาพ เช่น จัดห้องนอนให้สะอาด กำหนดตารางการนอนหลับให้ตรงเวลา จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ลดการสัมผัสกับแสงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยตรงก่อนนอน การเขียนบันทึกความคิดที่เกิดขึ้นในหัวและสิ่งที่ต้องทำในวันถัดไปก่อนเข้านอน อาจช่วยลดความกังวลลงได้ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในตอนเช้าหลังตื่นนอนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เป็นการปรับสมดุลฮอร์โมนได้อีกด้วย