นอนไม่หลับ นอนหลับยาก วิกฤตสุขภาพคนยุคใหม่
นอนไม่หลับ นอนหลับยาก วิกฤตสุขภาพคนยุคใหม่ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอาการนอนไม่หลับของคนทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 คืนต่อสัปดาห์ หากนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจพัฒนาไปสู่ภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพระยะยาวได้
ปัญหาส่วนใหญ่ที่คนนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ (Insomnia) ถือเป็นโรคความผิดปกติด้านการนอน หรือเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งหากย้อนกลับไปราวหกสิบปีก่อนเชื่อว่าหลายคนคงยกให้ “ความเครียด” เป็นสาเหตุตั้งต้นของปัญหาด้านการนอน แต่สำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน
ความเครียดอย่างเดียวคงไม่สามารถทำให้เข้าสู่ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรังได้ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนยุคดิจิตัลนอนไม่หลับ มาจากอะไรได้บ้าง..
1.พฤติกรรมการทำงาน (Work behavior) ด้วยความสะดวกรวดเร็วที่มีตลอดเวลา ทำให้ขีดจำกัดในการทำงานถูกทลายลง จากสถิติพบว่าประชากรกว่า 20% ทั่วโลก มีพฤติกรรมการทำงานตอนกลางคืน ทั้งจากการประชุมหรือการทำงานที่ติดพัน จนเผลอทำเวลาการนอนหล่นหาย
2.เทคโนโลยี (Smart technology) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราก้มหน้าคุยกันจนทุกวันนี้ จากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือหน้าจอต่างๆ ที่พร้อมจะสาดแสงเข้าดวงตาเราแบบทั้งวันทั้งคืน บวกกับเสียงรบกวนจากภาพนอก จนเกิดเป็น Light Pollution ที่เข้าไปรบกวนร่างกาย เหมือน Lightmare ไม่ใช่ Nightmare (ฝันร้าย) ทำให้มี
อาการหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่หลับ
3.ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ (Lifestyle) วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป จนคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ความรวดเร็วที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ กิจกรรม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารจานด่วน มื้อใหญ่ มื้อดึก รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่มาก ทำให้นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับได้ในที่สุด
ปัญหานี้จะหมดไปได้ด้วยอาหารเสริม เมลาโทนิน (Melatonin) การใช้ อาหารเสริมที่มีเมลาโทนิน (Melatonin) ร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมในการนอนให้เหมาะสม สามารถรักษาความผิดปกติดังกล่าว และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น สามารถซื้อได้ที่เคาน์เตอร์ยาตามร้านขายยาเพื่อช่วยในการนอนหลับ ช่วยให้เราหลับได้ง่าย หลับได้เร็วอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยลดระดับความตื่นตัวในร่างกาย และส่งสัญญาณการนอนหลับ นอกจากนี้ยังช่วยในการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ช่วยควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย ระดับคอร์ติซอล (cortisol) การทำงานทางเพศและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เมลาโทนินตามธรรมชาติของแต่ละคนจะลดลงตามอายุ การมีระดับเมลาโทนินต่ำในกระแสเลือดนั้น จะไปทำการขัดขวางวงจรชีวิตของร่างกายและสามารถนำไปสู่อาการนอนไม่หลับได้