การนอนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของการมีสรีระที่สวยงามตามธรรมชาติ การเจริญเติบโตตามวัย ตลอดจนยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง สามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย เพราะความจำในส่วนของทักษะเช่น การวาดรูป เล่นกีฬา การคำนวณ การเล่นดนตรีหลังจากที่เราเรียนมาความจำเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในสมองในขณะที่เราหลับลึก ส่วนการพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ,เจ็บป่วยง่าย, อ้วนง่ายขึ้น, สมรรถภาพทางเพศลดลง การทำงานของสมองและความสามารถในการตัดสินใจลดลง
ในทางการแพทย์จะแบ่งการอดนอน ออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่อดนอนในระยะสั้น ๆ และผู้ที่อดนอนเรื้อรัง ที่ต้องแยกเป็น 2 ประเภทเพราะอาการในช่วง 3 วันแรกจะมีอาการมึนงง คิดอะไรไม่ค่อยออก ความสามารถในการตอนสนองช้าลง รู้สึกง่วงแต่ใจสั่นๆ หลังจาก 3 วันหากยังมีการนอนที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง การเคลื่อนไหวร่างกายทำงานได้แย่ลง เช่น การวิ่ง กระโดดจนไปถึงการเคลื่อนไหวขึ้นสูงเช่น การเขียน การเล่นดนตรี งานที่ต้องการใช้ความตั้งใจเช่น การขับรถ อาจจะมีปัญหาซึ่งอันตรายมาก
มีการทำการศึกษาในคนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.ติดกัน 4 วันการทำงานจะแย่กว่าคนนอน 8 ชม. แต่จะแย่เท่ากับคนนอน 6 ชม. สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรานอนไม่พอก็คืออาการง่วงระหว่างวัน หาวอยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยมีสมาธิ ใจลอย บางทีก็มีเผลอสัปหงกหลับไปโดยไม่รู้ตัวเป็นระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที (วูบ)
เมลาโทนิน อาจช่วยในภาวะต่างๆต่อไปนี้นอนหลับไม่พอการนอนไม่หลับ การกินเมลาโทนินอาจช่วยให้ผู้ที่ใช้เวลานานก่อนจะหลับ หลับได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใน 1 ปี หลังจากหยุดกิน อาการนอนไม่หลับอาจกลับมาใหม่ได้ปัญหานอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม (dementia) โดยพบว่าเมลาโทนินช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น และ ลดการตื่นกลางดึกได้ปัญหาการนอนหลับในเด็ก หรือ วัยรุ่น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับวงจรการหลับและตื่น เช่น เด็กหรือวัยรุ่นที่มีปัญหาพัฒนาการต่างๆ, ออทิสติก, หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าเมลาโทนินช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้นได้ รวมถึงช่วยให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้นได้ภาวะที่ปรับเวลาไม่ได้เวลาบินข้ามโซนเวลา (Jet lag) งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่า เมลาโทนินช่วยให้อาการต่างๆ เช่น ตื่นตัวเวลากลางคืน ง่วงและเหนื่อยอ่อนเพลียเวลากลางวัน ดีขึ้นได้ แต่อาจไม่ช่วยให้คนที่มีอาการ Jet lag นอนหลับได้เร็วขึ้นปัญหาการนอนหลับในผู้ที่ตาบอด (เนื่องจากเชื่อว่าการที่ตามองไม่เห็นทำให้การรับรู้แสงของร่างกายผิดไป และรบกวนวงจรการนอนหลับปกติ) พบว่าเมลาโทนินช่วยให้อาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนตาบอด ดีขึ้นได้
ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามเมลาโทนินแบบอมใต้ลิ้นที่ออกฤทธิ์ทันที ไม่พบว่ามีผลดังกล่าวโดยทั่วไปเมลาโทนินค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานในระยะสั้นๆ มีการรับประทานในระยะยาวถึง 2 ปีในคนบางกลุ่มพบว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามเมลาโทนินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ซึมเศร้าเป็นช่วงสั้นๆ ง่วงนอนเวลากลางวัน เวียนศีรษะ ปวดท้อง หรือ อาการอยู่ไม่นิ่ง (Irritability) ไม่่ควรขับรถ หรือ ทำงานกับเครื่องจักรในช่วง 4-5 ชั่วโมงหลังกินเมลาโทนิน