นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง

นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในชีวิตประจำวันต้องคิดและตอบสนองหลายอย่าง สมองจำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ แต่ยิ่งตื่นอยู่นานแค่ไหน พลังงานของสมองจะค่อย ๆ ลดลงมากเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้ามจะมีการสะสมของเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานของเซลล์ประสาทคล้ายเป็นขยะ เกะกะ กีดขวางความสามารถในการส่งกระแสประสาท และที่พบบ่อยคือ เศษของโปรตีนเทา (Tau Protein) และชิ้นส่วนของอะไมลอยด์ (Amyloid Beta) แต่เมื่อได้หลับสมองจะมีกระบวนการกำจัดเศษชิ้นส่วนเทาและอะไมลอยด์อย่างสมดุล ซึ่งต้องเป็นการหลับที่มีคุณภาพและได้ปริมาณที่เหมาะสมตามวัย

นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง

ปัญหาการนอนสร้างของเสีย

ปัญหาการนอนสร้างของเสีย

หากเป็นผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ เช่น ใช้เวลานานกว่าจะหลับได้ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่ละครั้งไม่มีคุณภาพ เช่น นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกัดฟัน นอนดิ้น นอนละเมอ หรือตารางการนอนหลับไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ร่างกายมีกระบวนการสร้างของเสียมากขึ้น มีการสะสมของเทาโปรตีนและอะไมลอยด์มากขึ้นในสมอง แต่กำจัดได้น้อยลง การสะสมนี้จะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

ผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์บางคนจะมีปัญหาหลับตื่นไม่เป็นเวลา หลับกลางวัน ตื่นกลางคืน มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป น้ำหนักตัว บางคนจะอ้วนขึ้นหรืออาจผอมลง เพราะโปรตีนเทากระจายไปรบกวนการทำงานของสมองที่ควบคุมวงจรการหลับตื่นของร่างกาย ตลอดจนสมองที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนควบคุมศูนย์หิวและอิ่มและฮอร์โมนอื่น ๆ ของร่างกายจึงเกิดเป็นวงจรการนอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือหลับปริมาณน้อย หรือแม้แต่มากเกินไป เป็นปัจจัยชักนำของภาวะสมองเสื่อมที่ส่งผลให้ร่างกายระบบต่าง ๆ เสื่อมไปด้วย

ตัวช่วยนอนหลับดีเมลาโทนิน

เนื่องจากเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับโดยตรง จึงทำให้ประโยชน์ของฮอร์โมนนี้เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันฮอร์โมนดังกล่าวสามารถสร้างขึ้นภายนอกร่างกายด้วยวิธีการสังเคราะห์ และนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม หรือยาที่ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการนอนหลับได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยประโยชน์ของการใช้เมลาโทนินเพื่อบรรเทาปัญหาการนอนหลับ มีดังนี้

จัดเวลาสำหรับการผ่อนคลาย

1.รักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพในคนตาบอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่

อย่าดูนาฬิกาบ่อยๆการดูนาฬิกาบ่อยๆ

2.รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (delayed sleep phase syndrome) เป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ ที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. และมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า การใช้อาหารเสริมที่มีเมลาโทนินร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมในการนอนให้เหมาะสม สามารถรักษาความผิดปกติดังกล่าว และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

อาการนอนไม่หลับ

3.รักษาโรคนอนไม่หลับ (insomnia) มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้เมลาโทนินทำเป็นวิตามินนอนหลับเพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับและยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพในการนอนหลับ และระยะเวลาในการนอนหลับที่ดีมากขึ้น

ผู้ที่มีปัญหาจากเจ็ทแลค

4.บรรเทาอาการเจ็ทแลค (jet lag) อาการนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนของเขตเวลา โดยมักเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน  ซึ่งก่อให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท ตื่นตัว  รู้สึกอ่อนเพลียระหว่างวัน   เป็นต้น

คนที่ทำงานเป็นกะ

5.ช่วยในเรื่องการนอนหลับของคนที่ทำงานเป็นกะ (shift work)

หลับดีสมองทำงานดี

ปรับปรุงสภาพการนอน

การนอนหลับที่มีคุณภาพช่วยให้สมองกำจัดโปรตีนเทา อะไมลอยด์ และผลิตผลขยะเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของสมองและร่างกายอีกครั้ง ประกอบไปด้วย

1.นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม 7 – 9 ชั่วโมงในผู้ใหญ่

2.รูปแบบและตารางการนอนหลับที่สม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามนาฬิกาโลก

3.เริ่มต้นหลับได้ไม่ยาก หลับได้ต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน

4.มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ได้แก่

Scroll to Top