เมลาโทนินตัวช่วยในการนอนหลับ

เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผลเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ มีแพทย์แนะนำให้ใช้ ช่วยในการแก้ปัญหาการนอนหลับโดยไม่มีอันตรายมากเท่าสารอื่นๆ แต่ อ.ย.จัดเป็นยาควบคุม

LUKKME Melatonin
เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผล

 เมลาโทนิน ช่วยในการนอนหลับ

           เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนของร่างกายที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล โดยมีหน้าที่สำคัญในร่างกายของเรา ช่วยปรับเวลาในการนอนของเราให้ตรงตามเวลาที่ควรจะเป็น

ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดิน และร่างกายจะมีระดับของเมลาโทนินสูงสุดในช่วงหนึ่งตอนกลางคืน ทำให้เรานอนหลับได้ตามเวลานอนประจำ

ความมืดจะกระตุ้นการหลั่งสารเมลาโทนิน แสงสว่างจะยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน

การรับแสงสีฟ้า

การได้รับแสงสีฟ้า เช่น แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ จะสามารถยับยั้งหรือชะลอการหลั่งเมลาโทนินได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนที่เล่นมือถือก่อนนอนหลับยาก เพราะระดับเมลาโทนินน้อยเกินไป

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่พบการหลั่งเมลาโทนินลดลง จึงทำให้พบภาวะนอนหลับยากที่สัมพันธ์กับอายุได้ มีการทดลองว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป นอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อได้รับเมลาโทนิน

ผู้ที่มีปัญหาจากเจ็ทแลค

 

ผู้ที่มีปัญหาจากเจ็ทแลค จากการเดินทางโดยเครื่องบินนานๆ การทานเมลาโทนินจะช่วยให้ร่างกายปรับเวลานอนที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นต้องเกิดการนอนแต่ละชนิดในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะ REM ซึ่งเป็นช่วงที่มี

ความสำคัญต่อการพัฒนาของสมอง (brain development) การเกิด neuronal plasticity การเก็บความจำ (memory

consolidation) และการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับในช่วง REM จัดเป็น restorative sleep คือทำให้ได้การนอนหลับที่

มีคุณภาพ ตื่นมาด้วยความสดชื่นและรู้สึกว่าได้นอนเต็มอิ่ม ดังนั้นในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับและจำเป็นต้องใช้ยารักษานั้น

หลักการที่สำคัญประการหนึ่งของการเลือกยาที่มีประสิทธิภาพคือ ยาชนิดนั้นต้องไม่มีผลลดการนอนในช่วง REM

 

 

 

 

บทบาทของเมลาโทนินในการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์จากต่อมไพเนียล (pineal gland) ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสรีรวิทยาของการนอนหลับและวงจรการหลับ-ตื่น (sleep-wake cycle) โดยจะมีการหลั่งออกมามากในตอนกลางคืนและมีระดับต่ำในช่วงกลางวัน ระดับสูงสุดในพลาสมาของเมลาโทนินจะเกิดในช่วงเวลาประมาณ 2.00 น. ถึง 3.00 น.

ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหลับลึก เมลาโทนินออกฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับโดยการกระตุ้น melatonin 1a (MT1) และ melatonin 1b (MT2) receptors ซึ่งพบหนาแน่นที่ suprachiasmatic nucleus (SCN) ของ hypothalamus’0 การกระตุ้น MT2 receptor จะช่วยในการควบคุม circadian rhythm ส่วนการกระตุ้น MT1 receptor จะทำให้การทำงานของSCN ลดลง โดย SCN ซึ่งปกติใช้ gamma-aminobutyric acid (GABA) เป็นสารสื่อประสาทจะส่งสัญญาณประสาทไปยัง sleep-promoting nucleus (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO) ผ่านทาง dorsomedial hypothalamus (DMH)เมื่อ SCN ทำงานลดลง จึงลดการหลั่ง GABA ไปที่ VLPO เมื่อ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง มีปริมาณลดลง จึงส่งผลให้ VLPO ถูกกระตุ้นและเข้าสู่การนอนหลับ (เปิด sleep gate) ได้ในที่สุด”

เมลาโทนิน ปลอดภัย แต่มีข้อเสีย

มลาโทนิน ปลอดภัย แต่มีข้อเสีย

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนเสริม จัดว่าปลอดภัยสูงกว่ายานอนหลับ ไม่พบอาการติด และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง มีเพียงการง่วงซึมบ้าง จึงควรเลี่ยงการใช้ระหว่างเดินทาน

เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับ ไม่ถึงกับได้ผลทันทีที่ทาน และบางคนที่ยังมีภาวะเครียด เจ็บปวดร่างกาย อาจไม่สามารถนอนหลับได้จากการทานอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนิน

การกินถึงเกินปริมาณที่กำหนด 3mg, 5mg, 10mg ก็ไม่ได้ส่งผลเสียมากนัก แค่อาจเกินความจำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น แต่การกินต่อเนื่องแสดงว่านอนไม่หลับ ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุดีกว่า

มีผลกับยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากันชัก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

 

 

Scroll to Top